วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)



เทคโนโลยีทางการแพทย์ กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy)


Image result for กล้องแคปซูล

กล้องแคปซูล (Capsule Endoscopy) คือ นวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย โรคในระบบทางเดินอาหาร กล้องชนิดนี้สามารถตรวจได้ถึงส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ในจุดที่การส่องกล้องทั่วไปเข้าไม่ถึง สามารถให้้ผลการตรวจที่ละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และมีประสิทธิภาพอุปกรณ์หรือกล้องสำรวจทางเดินอาหารมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยาเม็ดชนิดแคปซูล ทำให้สามารถกลืนได้สะดวกและปลอดภัย กระบวนการตรวจเริ่มจากให้คนไข้กลืน กล้องแคปซูล พร้อมกับน้ำ กล้องจะเคลื่อนที่ไปตามส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร กล้องแคปซูลนี้จะออกมาพร้อมกับการถ่ายอุจจาระ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายใดๆ ต่อร่างกายผู้ถูกตรวจโดยภาพภายในใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 7 ชั่วโมง โดยสามารถบันทึกภาพได้ 2 ภาพต่อวินาที และเก็บภาพได้ถึง 50,000 ภาพ

Image result for กล้องแคปซูล

Capsule endoscopy  is a procedure used to record internal images of the gastrointestinal tract for use in medical diagnosis. The capsule is similar in shape to a standard pharmaceutical capsule, although a little larger, and contains a tiny camera and an array of LEDs powered by a battery. After a patient swallows the capsule, it passes along the gastrointestinal tract taking a number of images per second which are transmitted wirelessly to an array of receivers connected to a portable recording device carried by the patient. The primary use of capsule endoscopy is to examine areas of the small intestine that cannot be seen by other types of endoscopy such as colonoscopy or esophagogastroduodenoscopy (EGD)

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://www.phukethospital.com/Thai/Hospital-Innovation/Capsule-Endoscopy.php
https://en.wikipedia.org/wiki/Capsule_endoscopy

คำถาม
1.กล้องแคปซูล คืออะไร
คำตอบ คือนวัตกรรมทางการแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้ในการตรวจวินิจฉัย โรคในระบบทางเดินอาหาร

2.Capsule endoscopy  is
Ans  is a procedure used to record internal images of the gastrointestinal tract for use in medical diagnosis.









วันอังคารที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม

ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมประกอบด้วย

  • การวิเคราะห์ปัญหา
  • การออกแบบโปรแกรม
  • การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
  • การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
  • การทำเอกสารประกอบโปรแกรม
  • การบำรุงรักษาโปรแกรม

การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  • กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
  • พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
  • พิจารณาการประมวลผล เพื่อให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไรและมีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
  • พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง ตลอดจนรูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล

การออกแบบโปรแกรม

การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้ เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudocode) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์

การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้ เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและ โปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ

การบำรุงรักษาโปรแกรม


เมี่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหา ข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับ เหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่ เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง

อ้างอิง โดย :  http://www.bankhai.ac.th/dev_c/step_develop_program.html